ทำไมไม่ควรทำงานตากแดดนานๆ

โรคลมแดดHeat Stroke

ด้วยสถานการณ์และสภาพอากาศของประเทศไทยที่ร้อนมากๆ ในปัจจุบันนั้น เป็นอะไรที่น่ากลัวและต้องดูแลตนเองกันให้มากๆ เลยหล่ะครับ ยิ่งเป็นการเดินทางหรือทำงานตากแดดนั้น อันตรายกว่าที่ทุกๆ ท่านคิดเลยหล่ะ บทความนี้เลยจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “ทำไมไม่ควรทำงานตากแดดนานๆ” กัน พร้อมกับแนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากเกิด “อาการ Heat Stroke” กันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันเล้ยย!!!

ทำไมไม่ควรทำงานตากแดดนานๆ

การตากแดดจัดนานๆ  นอกจจะทำให้ผิวเสียแล้วนั้น…ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงมากกว่า 40 องศาเซลเซียส จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

รู้จักกับ “Heat Stroke”

โรคลมแดดหรือภาวะฉุกเฉินจากความร้อน (Heatstroke) เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไป ซึ่งมักเกิดจากการทำงาน ใช้แรงงาน หรือออกกำลังกายอย่างหนักในภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง โดยภาวะฮีทสโตรกมักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูง 40 องศาเซลเซียส (104 ฟาเรนไฮต์) หรือมากกว่า และมักจะเกิดในช่วงฤดูร้อนหรือบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง ภาวะ Heatstroke อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที ที่สำคัญหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ล่าช้าจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงแก่ชีวิตเลยหล่ะครับ

อาการของคนที่กำลังเป็นโรคลมแดด

ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมแดดจะมีอุณหภูมิร่างกาย (Core Body Temperature) 40 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า ร่วมกับภาวะความรู้สติเปลี่ยนแปลง โดยอาจมีอาการสับสน กระวนกระวาย เพ้อ และชักหรือหมดสติได้ ร่วมกับภาวะหัวใจเต้นเร็ว อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังแดงและร้อนแต่แห้ง ยกเว้นผู้ป่วย Exertional Heatstroke มีบางรายที่ผิวหนังจะชื้นเล็กน้อยได้

ปัจจัยเสี่ยงโรคลมแดด

ปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีโอกาสเกิดโรคลมแดดได้ง่ายขึ้น ได้แก่

●มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ภาวะอ้วน หรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

●การใช้ยาบางกลุ่มที่ทำให้สูญเสียสารน้ำหรือร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออุณหภูมิกายที่สูงขึ้นได้อย่างเต็มที่ เช่น ยากลุ่มกระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด (Vasoconstrictors) ยาลดความดันหรือรักษาโรคหัวใจ (Beta – Blockers) ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) และยาทางจิตเวชบางกลุ่ม (Antidepressants, Antipsychotics และ Psychostimulants) รวมทั้งสารเสพติดกลุ่ม Amphetamines และ Cocaine

●การที่ร่างกายต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่น ในกรณีที่เดินทางท่องเที่ยวไปประเทศที่อากาศร้อนกว่า หรือในช่วงที่มี Heat Wave จนร่างการปรับตัวไม่ทันก็ทำให้เกิดฮีทสโตรกได้ง่ายขึ้น

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

– รีบนำคนป่วยหลบเข้าที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือห้องที่มีความเย็น เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายลง ให้คนป่วยนอนราบ ยกเท้าและสะโพกสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น

– คลายเสื้อผ้าออกให้หลวม เพื่อระบายความร้อน พยายามใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว ซอกคอ ตัว รักแร้ ขาหนีบ หน้าผาก หรือประคบด้วยน้ำแข็ง เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย ให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุดและรีบพาไปพบแพทย์

แนวทางดูแลและป้องกันไม่ให้เป็น Heat Stroke

–          สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ระบายความร้อนได้ดี

–          อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

–          หลีกเลี่ยงทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงกลางแจ้งนานๆ

–          สวมแว่นกันแดด กางร่ม สวมหมวกปีกกว้าง

–          ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เพื่อชดเชยการเสียน้ำในร่างกาย

–          ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ ‘ทำไมไม่ควรทำงานตากแดดนานๆ” พร้อมกับข้อมูลเกี่ยวกับ Heat Stroke ที่เราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกัน คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ที่น่าสนใจกันครับ

About the Author

You may also like these